วันพุธที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2559

บัทึรีรั้ที่ 13

วัน จันทร์ ที่ 30 พฤศจิกายน  2559

วันนี้อาจารนัดนักศึกษามาชี้แจงแนวข้อสอบและแจกรางวัลเด็กดี
บัทึรีรั้ที่ 12

วัน จันทร์ ที่ 28 พฤศจิกายน  2559

อาจารย์ให้นักศึกษาเตรียมรูปเล่มโครงการ
บัทึรีรั้ที่ 11

วัน จันทร์ ที่ 21 พฤศจิกายน  2559

อาจารย์ให้นักศึกษาเตรียมงานในการจัดทำโครงการ
บัทึรีรั้ที่ 10

วัน จันทร์ ที่ 14  พฤศจิกายน  2559

อาจารย์ให้นักศึกษาเตรียมงานในการจัดทำโครงการ
บัทึรีรั้ที่ 9

วัน จันทร์ ที่ 7  พฤศจิกายน  2559

เนื้อหา

     วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มเข้าไปคุยกับอาจารย์เพื่อที่อาจารย์จะได้ชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับรูปเล่มของโครงการว่าส่วนไหนของรูปเล่มที่ยังต้องปรับปรุง  มีกิจกรรมอะไรบ้าง ที่ต้องลดหรือต้องเพิ่มเติมเพื่อที่จะให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมต่างๆ  

บัทึรีรั้ที่ 8

วัน จันทร์ ที่ 31  ตุลาคม  2559

เนื้อหา

     วันนี้อาจารย์ให้ตัวแทนแต่ละกลุ่มออกมากพูดถึงความรู้สึกของการไปทำแบบสอบถามผู้ปกครองว่า ไปเจออะไรมาบ้าง เป็นยังไงบ้าง  ออกมาพูดคุย มาแชร์กันที่หน้าชั้นเรียน





ประเมินตนเอง
        ตั้งใจเรียน
        ตรงต่อเวลา
ประเมินเพื่อน
        เพื่อนๆตั้งใจเรียน และให้ความร่วมมือกับอาจารย์เป็นอย่างดี
        มีความรับผิดชอบต่องานของตนเอง
ประเมินอาจารย์
        อาจารย์ใจดี  แต่งตัวเรียบร้อย เข้าใจนักศึกษาเป็นกันเองกับนักศึกษาทุกคน

บัทึรีรั้ที่ 7

วัน จันทร์ ที่ 3  ตุลาคม  2559

********ขาดเรียนเนื่องจากไม่สบาย*********
บัทึรีรั้ที่ 6

วัน จันทร์ ที่ 3  ตุลาคม  2559

เนื้อหา

     วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการให้การศึกษาผู้ปกครอง 





สิ่งที่ได้รับ
      ในการให้การศึกษาแก่ผู้ปกครองมีหัวข้อและเรื่องต่างๆที่หลากหลายและน่าสนใจและมี
แนวทางต่างที่จะนำไปใช้ในอนาคตได้

ประเมินตนเอง
        ตั้งใจเรียนและตั้งใจนำเสนองานของกลุ่มตัวเองให้ออกมาดีที่สุด
ประเมินเพื่อน
        เพื่อนๆตั้งใจเรียน และเตรียมงานของกลุ่มตัวเองมาอย่างดี
ประเมินอาจารย์
        อาจารย์ใจดี
บัทึรีรั้ที่ 5

วัน จันทร์ ที่ 19  กันยายน 2559

เนื้อหา
      บทที่ 5 รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองในสถานศึกษา
               สถานศึกษาปฐมวัยจะต้องทำหน้าที่และร่วมกันรณรงค์เพื่อให้พ่อแม่ผู้ปกครองได้ตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาและการมีส่วนร่วมกับการศึกษาปฐมวัย โดยจะต้องพัฒนาทั้งความรู้และทักษะ เพื่อนำไปใช้กับเด็กอย่างถูกวิธี 

 รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองระดับชั้นเรียน

ข่าวสารประจำสัปดาห์
เป็นข้อมูลข่าวสารที่ส่งไปถึงผู้ปกครองเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมของเด็กที่โรงเรียนและแนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่เด็กที่บ้านเพื่อให้ผู้ปกครองเข้าใจและร่วมกันพัฒนาเด็กไปในทิศทางเดียวกัน ข้อมูลประจำสัปดาห์ประกอบไปด้วย
    - รายละเอียดของสาระการเรียนรู้ ประสบการณ์และกิจกรรมที่สถานศึกษาวางแผนไว้ประจำสัปดาห์
    - พัฒนาการและการเรียนรู้ที่เด็กได้รับจากการปฏิบัติกิจกรรม
    - กิจกรรมครอบครัว เป็นกิจกรรมที่พ่อแม่ ร่วมทำกับเด็กโดยในข่าวสารจะเสนอแนะกิจกรรมต่างๆ เช่น ประดิษฐ์ของเล่นสำหรับเด็ก เกม วาดภาพระบายสี เพลงคำคล้องจอง ปริศนาคำทาย ฯลฯ
    - เรื่องน่ารู้สำหรับผู้ปกครอง เป็นการให้ข้อมูลความรู้เพื่อนำไปอบรมเลี้ยงดู ส่งเสริมพัฒนาการเด็กหรือแก้ไขปัญหาพฤติกรรมเด็ก
    - ข้อเสนอแนะของผู้ปกครอง เป็นการให้ผู้ปกครองแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ เพื่อเป็นข้อมูลในการสนับสนุนและพัฒนาเด็กให้ดียิ่งขึ้น
จดหมายข่าวและกิจกรรม
เป็นการนำเสนอความรู้ให้แก่ผู้ปกครองในชั้นเรียนให้รับรู้ถึงข่าวสารและกิจกรรมที่น่าสนใจและเป็น
ประโยชน์ในการพัฒนาเด็กโดยจัดส่งให้ผู้ปกครองในทุกสัปดาห์หรือตามความเหมาะสมอย่าง
สม่ำเสมอ สิ่งที่นำเสนอในจดหมายข่าวและกิจกรรมอาจจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องดังนี้
    - ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับเด็กและผู้ปกครอง
    - กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการสำหรับผู้ปกครอง เช่น นิทาน ศิลปะ ภาษา ฯลฯ
    - ความรู้สำหรับผู้ปกครอง ฯลฯ
ป้ายนิเทศให้ความรู้ผู้ปกครอง
จัดเพื่อให้ความรู้แก่ผู้ปกครองอีกรูปแบบหนึ่งซึ่งสามารถจัดได้บริเวณหน้าชั้นเรียนของทุกห้องเรียน 
โดยนำข้อมูลความรู้ที่จำเป็นสำหรับผู้ปกครอง จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย เช่น
    - ข้อมูลจากนิตยสาร หนังสือพิมพ์ วารสาร
    -  เกร็ดความรู้หรือสาระน่ารู้สำหรับผู้ปกครอง
    - ภาพถ่ายกิจกรรมในชั้นเรียน
    - ผลงานแห่งความภาคภูมิใจ
    - กิจกรรมในโอกาสพิเศษ เช่น ทัศนศึกษา การแสดงในวันปีใหม่ ฯลฯ
การสนทนา
การสนทนาเป็นรูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองที่เข้าถึงและตรงมากที่สุด การสนทนาเป็นแนวทางหนึ่ง
ของการสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีเพื่อผู้ปกครอง และช่วยในการให้ความรู้ผู้ปกครองเป็นไปได้อย่างราบรื่น 
โดยมีวัตถุประสงค์ในการสนทนาดังนี้
- เพื่อให้ครูและผู้ปกครองได้มีโอกาสพบปะพูดคุยและแลกเปลี่ยนความรู้เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนา
เด็ก    
- เพื่อให้ผู้ปกครองเข้าใจถึงแนวทางการดำเนินงานของโรงเรียน  
- เพื่อให้ครูและผู้ปกครองได้แลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมเด็กขณะที่อยู่ที่โรงเรียนและที่บ้าน
รูปแบบการให้ความรู้ผู้ปกครองระดับสถานศึกษา
ห้องสมุดผู้ปกครอง
ป้ายนิเทศ
นิทรรศการ
มุมผู้ปกครอง
การประชุม
จุลสาร
คู่มือผู้ปกครอง
ระบบอินเทอร์เน็ต
สรุป
รูปแบบในการให้ความรู้ผู้ปกครองดังกล่าว สถานศึกษาสามารถจัดให้บริการแก่ผู้ปกครอง โดยมีข้อคิดที่
สำคัญคือการคิดหาสื่อและช่องทางที่จะทำให้ความรู้ต่างๆ ถึงผู้ปกครองอย่างถั่วถึง รวดเร็ว และมีการ
ตอบกลับ เพื่อให้สถานศึกษาได้รับรู้ว่าผู้ปกครองตระหนักถึงบทบาทของตนเองต่อการมีส่วนร่วมในการ
พัฒนาเด็กและทำให้การศึกษาระหว่างบ้านและสถานศึกษามีความเข้าใจที่ตรงกัน ทำให้การศึกษาเกิด
แนวคิดต่อการพัฒนารูปแบบในการให้ความรู้ผู้ปกครองที่มีประสิทธิภาพมากสูงสุด

ประเมินตนเอง
        ตั้งใจเรียนและตั้งใจที่อาจารย์บรรยาย
ประเมินเพื่อน
        เพื่อนๆตั้งใจเรียน แมาตรงต่อเวลา อาจจะง่วงนอนบ้างเนื่องจากเรียนในช่วงบ่าย
ประเมินอาจารย์
        อาจารย์ใจดี

วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2559

บัทึรีรั้ที่ 4

วัน จันทร์ ที่ 5  กันยายน 2559




เนื้อหา
    วันนี้บรรยายในหัวข้อ "  โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองในและต่างประเทศ"  โดยมีเนื้อหาดังนี้

โครงการ การให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในประเทศไทย  -->

 โครงการ   แม่สอนลูก  
         ดำเนินการโดยกรมการฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการโครงการนี้จัดสำหรับเด็กที่ด้อยโอกาส โดยให้มารดาเป็นผู้สอนเองที่บ้านใช้วิธีการแนะนำให้รู้จักใช้ทักษะ รู้จักคิดและเรียนรู้มโนทัศน์ด้านต่างๆและใช้รูปแบบการทดองสอนแม่เพื่อสอนลูกที่บ้าน โดยอาศัยรูปแบบโครงการการเยี่ยมบ้านของประเทศอิสราเอล ซึ่งมารดามีความพอใจในกิจกรรม มีความรู้ความเข้าใจและสามารถส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆเพิ่มขึน  เนื้อหากิจกรรมในโปรแกรมนี้ เป็นกิจกรรมปฏิสัมพันธ์ระหว่างแม่ลูกโครงการนี้ดำเนินการโดยศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน จ.อุบลราชธานี  เป็นโครงการทดลองหารูปแบบในการให้ความรู้แก่กลุ่มสตรีแม่บ้านในชุมชน ได้นำแนวทางของโปรงแกรม Hippy Program ของประเทศอิสราเอลเน้นให้ผู้ปกครองมีความพร้อมก่อนส่งลูกเข้าเรียน แม่จะส่งเสริมเด็กด้านต่างๆ มีการบันทึกผลและการปฏิบัติรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของแม่และลูก

การพัฒนารูปแบบการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองในการอบรมเลี้ยงดูเด็กต่ำกว่า 3 ปี ผ่านโรงพยาบาลชุมชนและสถานีอนามัย
        เป็นโครงการภายใต้งานวิจัยของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เกิดจากความต้องการให้ครอบครัวเป็นหลักของการพัฒนาเด็กในช่วงอายุต่ำกว่า 3 ปี ด้วยการให้พ่อแม่ ผู้ปกครองเป็นผู้เลี้ยงดูที่มีคุณภาพ โดยใช้รูปแบบการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง ประกอบด้วย 4 รูปแบบ คือ 
- วิธีกระบวนการเรียนรู้โดยการมีส่วนร่วม  
- วิธีการสนทนากลุ่ม
- วิธีอภิปรายกลุ่ม 
- วิธีการบรรยาย

โครงการ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กไทย
        ดำเนินงานโดยสำนักสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิตโดยผลักดันให้ครอบครัวมีส่วนร่วมที่สำคัญ ด้วยการจัดทำชุดองค์ความรู้และเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในเด็กและเยาวชนไทย เพื่อให้พ่อแม่ผู้ปกครองสามารถนำไปปฏิบัติใช้ได้จริง ประกอบด้วย
 - แบบสังเกตความคิดสร้างสรรค์ในเด็กสำหรับพ่อแม่
- คู่มือความรู้และการจัดกิจกรรมพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
- หลักสูตรการเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์
- ซีดีการเรียนรู้ด้วยตนเองเรื่อง  “การเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์”
- จัดอบรมพ่อแม่ผู้ปกครองเรื่อง  “การเลี้ยงลูกให้มีความคิดสร้างสรรค์

โครงการรณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อเสริมสร้างความข็มแข็งของครอบครัว “บ้านล้อมรัก”
         ดำเนินการโดยสำนักงานคณะกรรมการการป้องกันและปราบปรามยา เสพติด ภายใต้คำขวัญ “พลังครอบครัวไทย ชนะภัยยาเสพติด โดยมีวิธีการประชาสัมพันธ์โครงการผ่าน 4 ช่องทางคือ 
- ผ่านโทรทัศน์ในรูปแบบสารคดีและแทรกในรายการโทรทัศน์
- ผ่านสื่อวิทยุในรูปแบบสารคดีสั้น สปอตประชาสัมพันธ์ กิจกรรม และสัมภาษณ์
- สื่อสิ่งพิมพ์ ได้แก่ จดหมายข่าว โปสเตอร์ สติกเกอร์ เสื้อยืด เป็นต้น
- กิจกรรมส่งเสริมความรู้และความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัว เช่น เกม กีฬา เป็นต้น

และยังมีโครการ  โครงการหนังสือเล่มแรก (Bookstart Thailand)  เริ่มต้นเมื่อปี 2546
                         โครงการพัฒนาเด็กโดยครอบครัว
                         โครงการพัฒนาเด็กโดยครอบครัว

โครงการ การให้ความรู้ผู้ปกครองในต่างประเทศ  -->

โครงการ การให้ความรู้พ่อแม่ผู้ปกครองในประเทศอิสราเอล  
โครงการศูนย์ส่งเสริมประสบการณ์เด็กปฐมวัยที่เรียกว่า ALEH  (Early Childhood Enrichment Center)
โครงการเสนอแนะให้แม่สอนลูก เลี้ยงลูกอย่างไรให้ถูกวิธี
โครงการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับผู้ปกครองและเด็ก
โครงการให้ความรู้ผู้ปกครองในประเทศสหรัฐอเมริกา
โครงการศูนย์ข้อมูลพ่อแม่
 โครงการ เฮดสตาร์ท (Head Start)
โครงการ โฮมสตาร์ท (Home Start Program)
โครงการสมาร์ท สตาร์ท (Smart Start)
โครงการ Brooklyne Early Childhood
โครงการ โฮมสตาร์ท (Home Start Program)
โครงการสมาร์ท สตาร์ท (Smart Start)
โครงการให้ความรู้ผู้ปกครองในประเทศนิวซีแลนด์
โครงการ เพลย์เซ็นเตอร์
โครงการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในการจัดการศึกษาของโรงเรียน
โครงการ “พ่อแม่คือครูคนแรก” (Parents as First Teachers)
โครงการให้ความรู้พ่อแม่ผู้ปกครองประเทศออสเตรเลีย
โครงการ บุ๊คสตาร์ทในประเทศอังกฤษ (Bookstart UK)
โครงการ บุ๊คสตาร์ทในประเทศญี่ปุ่น (Bookstart Japan)


สิ่งที่ได้รับ
      ได้รู้จักโครงการต่างๆที่สำคัญทั้งในและต่างประเทศที่หลายหลายและมีข้อแตกต่างกันออกไป

ประเมินตนเอง
             ตั้งใจเรียนแต่วันนี้อาจจะง่วงเนื่องจากเรียนในตอนบ่าย
ประเมินเพื่อน
             เพื่อนๆตั้งใจเรียนแต่ก็มีบ้างบางคนที่หลับ 
ประเมินอาจารย์
             อาจารย์ใจดีเข้าใจนักศึกษา



คำถามท้ายบท
1.ในการดำเนินโครงการให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองทั้งในและต่างประเทศมีเป้าหมายร่วมกันอย่างไร
ตอบ  การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพการศึกษาเด็กปฐมวัยให้ไปในทิศทางเดียวกัน

2.นักศึกษามีแนวคิดอย่างไรที่จะสนับสนุนให้โครงการการให้ความรู้ผู้ปกครองประสบผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม จงอธิบาย
ตอบ  เห็นด้วย ที่จะสนับให้โครงการให้ความรู้ผู้ปกครองประสบผลเร็จ เพรา ะ การให้ความรู้กับผู้                    ปกครองเป็นสิ่งที่สำคัยมากๆ เพื่อที่ผู้ปกครองจะได้นำไปอบรมลูกอย่างถูกวิธี

3.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นผู้ที่ให้ความรู้แก่พ่อแม่ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยในอนาคต จงยกตัวอย่างขององค์ความรู้หรือเรื่องที่ต้องการจะถ่ายทอดให้กับพ่อแม่ผู้ปกครองเพื่อใช้ในการเลี้ยงดูเด็ก มา 5 เรื่องพร้อมอธิบายและยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ   1. พัฒนาการ เพราะว่า พัฒนาการเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด และพัฒนาการของเด็กแต่ละคนจะแตก           ต่างกันออกไป ผู้ปกครองต้องเข้าใจ และไม่เอาลูกไปเปรียบเทียบกับเด้กคนอื่น  เช่น พัฒนาการ           ด้านสติปัญญา
          2.การเรียนรู้   เพราะว่า  การเรียนรู้ของเด็กนั้นเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ผู้ปกครองควรที่จะเตรียม                 ความพร้อมอยู่เสมอ  
          3.การเลี้ยงดู  เพราะว่า ในปัจจุบันแต่ละบ้านมีการเลี้ยงดูที่แตกต่างกันออกไปแต่ก็ไม่ถูกหลักใน           บางอย่าง จึงควรที่จะให้ความรู้ในเรื่องนี้
          4.การสื่อสาร  เพราะว่า การสื่อสารนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญในการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ในเรื่องของ              ความต้องการเด็กปฐมวัย ควรจะสามารถบอกในสิ่งที่ตนเองต้องการได้ เช่น ต้องการเข้าห้องน้ำ            เป็นต้น
          5.การปรับตัว 

4.การให้ความรู้ผู้ปกครองสามารถส่งผลต่อพฤติกรรมเด็กหรือไม่อย่างไร    จงอธิบาย
ตอบ  ส่งผลเป็นอย่างมาก เนื่องจาก เด็กจะเรียนรู้จากการเลียนแบบผู้ปกครอง

5. นักศึกษาจะมีวิธีในการติดตามผลการให้ความรู้ผู้ปกครองอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ  ติดตามผลโดอยวิธีการพูดคุยสอบถามกับผู้ปกครองและสังเกตจากพฤติกรรมของตัวเด็ก

 

วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2559

บัทึรีรั้ที่ 3

วัน จันทร์ ที่ 29  สิงคม 2559





เนื้อหา 
      วันนี้เรียนในหัวข้อ "การสื่อสารกับผู้ปกครองเด็กปฐมวัย"  โดยมีเนื้อหาดังนี้
การสื่อสาร  (Communication) --> กระบวน การส่งข่าวสาร ข้อมูล จาก   ผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร 
มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกิริยาตอบสนองกลับมา โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่ง
ต้องการ 
ความสำคัญของการสื่อสาร  -->  
    1.ทำให้ได้รับรู้และเข้าใจถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม
    2.ทำให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันทั้ง 2 ฝ่าย
    3.ทำให้สร้างมิตรภาพที่อบอุ่น
    4.ทำให้เกิดภาพแห่งความพึงพอใจ
    5.ช่วยในการพัฒนาอัตมโนทัศน์ เป็นการสร้างความรู้สึกที่ดีต่อตนเองก่อให้เกิดความพอใจในชีวิต
องค์ประกอบของการสื่อสาร  -->
    1. ผู้ส่งข่าวสาร (Sender)
    2. ข้อมูลข่าวสาร (Message)
    3. สื่อในช่องทางการสื่อสาร (Media)
    4. ผู้รับข่าวสาร (Receivers)
    5. ความเข้าใจและการตอบสนอง
ผู้สื่อสารและผู้รับสาร  -->
    •ผู้จัดกับผู้ชม
    •ผู้พูดกับผู้ฟัง
    •ผู้ถามกับผู้ตอบ
    •คนแสดงกับคนดู
    •นักเขียนกับนักอ่าน
    •ผู้อ่านข่าวกับคนฟังข่าว
   •คนเล่านิทานกับคนฟังนิทาน
วัตถุประสงค์ของการสื่อสาร  -->
   1. เพื่อแจ้งให้ทราบ
   2. เพื่อสอนหรือให้การศึกษา
   3. เพื่อสร้างความพอใจหรือให้ความบันเทิง
   4. เพื่อเสนอหรือชักจูงใจ มุ่งเน้นให้ผู้รับสารมีพฤติกรรมคล้อยตาม หรือยอมรับปฏิบัติตาม
ประเภทของการสื่อสาร  -->
   1. จำแนกตามกระบวนการหรือการไหลของข่าวสาร  แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ การสื่อสารทางเดียวและการสท่อสาร 2 ทาง
   2. จำแนกตามภาษาสัญลักษณ์ที่แสดงออก  แบ่งออกเป็น 2 อย่างคือ  การสื่อสารเชิงวัจนะกับการสื่อสารเชิงอวัจนะ
   3. จำแนกตามจำนวนผู้สื่อสาร
         3.1 การสื่อสารส่วนบุคคล
         3.2 การสื่อสารระหว่างบุคคล
 3.3 การสื่อสารมวลชน 
อุปสรรคที่สำคัญของการสื่อสาร
ผู้ส่งข่าวสารขาดทักษะในการสื่อสารที่ดี เช่นใช้ภาษาที่อยากแก่การเข้าใจ หรือไม่เหมาะแก่ผู้รับ
ข้อมูลข่าวสารมากเกินไป
ได้ข่าวสารไม่ครบสมบูรณ์ ทำให้สื่อความหมายผิดๆ
ข้อมูลที่ส่งไปผ่านหลายขั้นตอน
เลือกใช้เครื่องมือในการส่งข่าวสารไม่เหมาะสม
รีบเร่งด่วนสรุปข่าวสารเร็วเกินไป ขาดการไตร่ตรอง
ผู้รับข่าวสารไม่ทบทวน หรือสอบถามให้เข้าใจเมื่อสงสัย
อารมณ์ของผู้รับ หรือผู้ส่งอยู่ในสภาพไม่ปกติ
ผู้ส่งหรือผู้รับมีความเชื่อมั่นในตัวเองสูง ไม่รับฟังความคิดเห็นผู้อื่น

      ต่อมาอาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มออกมาเล่นเกมส์ที่หน้าชั้นเรียน  เป็นเกมส์ที่เกี่ยวกับการสื่อสาร
ทำให้เห็นถึงปัญหาในการสื่อสารในรูปแบบต่างๆ ว่าล้วนมีข้อผิดพลาดได้ทั้งสิ้น หากไม่ใช่การสื่อสาร
กับบุคคลที่เราต้องการจะสื่อสารจริงๆ อาจจะมีการคลาดเคลื่อนของสารก็ได้
โดยมีเกมส์ ดังนี้
1.เกมส์ สื่อความหมาย  ให้นักศึกษาออกมาหน้าชั้นเรียน 5  คน แล้วให้คนที่ 1 อ่านคำใบ้ แล้วแสดงท่า
ท่าใบ้ให้เพื่อนตนที่ 2 ไป 3 ไป 4 และ 4 ไป 5 และให้คนสุดท้ายแสดงท่าทางให้ดูและพูดว่า เพื่อน
สื่อสารในเรื่องของอะไร

2.เกมส์  พรายกระซิบ
3.เกมส์ ใบ้คำ
4.เกมส์ ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร

สิ่งที่ได้รับ
      รู้ความหมาย ความสำคัญของการสื่อสาร และองค์ประกอบของการสื่อสาร และที่สำคัญรู้ถึง
อุปสรรคในสารสื่อสารทั้งจากเนื้อหาที่อาจารยืสอนและจากการร่วมเล่นเกมส์กับเพื่อนว่า การสื่อสารนั้น
หากผู้ส่งสารขาดทักษะในการพูดก็จะทำให้ผู้รับสารไม่เข้าใจในสารที่ต้องการทราบทำให้ความหมาย
คลาดเคลื่อนไปได้

ประเมินตนเอง
        ตั้งใจเรียนและเล่นเกมสืกับเพื่อนๆให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมในชั้นเรียนเป็นอย่างดี
ประเมินเพื่อน
        เพื่อนๆตั้งใจเรียน ร่วมทำกิจกรรม มีความสามัคคีภายในกลุ่ม
ประเมินอาจารย์
        อาจารย์สอนได้เข้าใจมีกิจกรรมและวิธีในการสอนที่หลากหลาย


คำถามท้ายบท
1. จงอธิบายความหมายและความสำคัญของการสื่อสารมาโดยสังเขป
ตอบ  ความหมาย   กระบวน การส่งข่าวสาร ข้อมูล จาก   ผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์    เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกิริยาตอบสนองกลับมา โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ
         ความสำคัญ  1.ทำให้ได้รับรู้และเข้าใจถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม
                            2.ทำให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันทั้ง 2 ฝ่าย
                            3.ทำให้สร้างมิตรภาพที่อบอุ่น
                            4.ทำให้เกิดภาพแห่งความพึงพอใจ
                            5.ช่วยในการพัฒนาอัตมโนทัศน์ 

2.การสื่อสารมีความสำคัญกับผู้ปกครองอย่างไร
ตอบ  ทำให้ผู้ปกครองสามารถสื่อสารกับตัวเด็กเอง คุณครู และผู้ปกครอง หรือผู้ที่ต้องการจะสื่อสาร
         ด้วย ได้เพื่อที่จะได้เข้าใจตรงกัน

3.รูปแบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในการให้ความรู้ผู้ปกครอง ควรเป็นรูปแบบใด 
จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ    รูปแบบการสื่อสารของลาล์สเวล เพราะ เป็นการสื่อสารที่ได้ทราบถึงรายละเอียดที่ชัดเจน คือ 
           ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร กับใน เมื่อไหร่

4.ธรรมชาติและการเรียนรู้ของผู้ปกครองควรมีลักษณะอย่างไร
ตอบ  เรียนรู้ได้ดีในเรื่องของการพัฒนาเด็ก
         •เรียนรู้ได้ดีในสภาพแวดล้อมที่มีความสมานฉันท์
         •มีความแปลกใหม่และมีประโยชน์ต่อเด็ก
         •เรียนรู้ได้ดีจากการฝึกปฏิบัติ
         •เรียนรู้ได้ดีในบรรยากาศที่เป็นวิชาการน้อยที่สุด
         •ควรได้รับความต่อเนื่องในการเรียนรู้ทีละขั้นตอน
         •เรียนรู้ได้ดีจากสื่อและอุปกรณ์ที่หลากหลา

5.ปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนพฤติกรรมการเรียนรู้สำหรับผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครองมีความเข้าใจเกี่ยวกับ
การศึกษาของเด็ก ประกอบด้วยปัจจัยด้านใดบ้าง
ตอบ  ความพร้อม ความต้องการ  อารมณ์และการปรับตัว   การจูงใจ  การเสริมแรง 
         ทัศนคติและความสนใจ   ความถนัด